วันจันทร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561




สาธิตการเรียน เพียรแก้ปัญหา  ก้าวหน้าปฏิบัติ

การพัฒนาการศึกษาถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปีพุทธศักราช 2542 ได้กำหนดเนื้อหาสาระ เพื่อปฏิรูปการศึกษาของปวงชาวไทย โดยได้จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยการจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยมีการเน้นฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาซึ่งกระบวนการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันก็มีหลากหลายวิธีซึ่งแต่ละวิธีก็จะมีหลักในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่แตกต่างกันออกไป
 ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ. 2561 ได้มีการแข่งขันทักษะงานมหกรรมการศึกษาเอกชนประจำปี 2561 ณ สหกรณ์สุราษฎร์ธานีจำกัด โดยภายในงานได้มีการจัดนิทรรศการที่มีความสอดคล้องกับวิธีการสอนในหลากหลายรูปแบบซึ่งการสอนแต่ละวิธีต่างก็มีความน่าสนใจเเละเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่เข้าร่วมชมนิทรรศการด้วยกันทั้งสิ้น ทั้งนี้ผู้ศึกษาได้เลือกศึกษาวิธีการสอนที่ได้เล็งเห็นแล้วว่าสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนต่อไปในอนาคตมา 3 วิธี ได้แก่ การสอนโดยการปฏิบัติ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน และ การสอนโดยการสาธิต
วิธีการสอนทั้ง3วิธีที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นมีส่วนสำคัญในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการของผู้เรียนให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้



1. วิธีการสอนโดยการปฏิบัติ (practice)  ผู้ศึกษาได้เลือกศึกษาโครงการพัฒนาสมองด้วยสองมือ จากปลายประสาทปลายนิ้ว นำสู่การสร้างรอยหยักในสมอง กับ SPORT STACKING COURSE ของโรงเรียนเทพมิตรศึกษา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โครงการนี้จะฝึกให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยตรงโดยผ่านการลงมือปฏิบัติจริงด้วยกีฬาสแต็ค (sport stacking ) เป็นกีฬาเรียงแก้วพลาสติกซึ่งแก้วที่เรียนจะมีทั้งหมด 12 ใบ ถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับกีฬาชนิดนี้โดยเฉพาะกีฬาสแต็คจะมีวิธีการเล่นทั้งแบบ Stack up คือ การเรียงขึ้น และการ Stack Down คือ การเรียงลง โดยผู้ที่เล่นกีฬาสแต็คจะมีชื่อเรียกกันว่า Stacker เวลาทำการแข่งขันจะใช้การตัดสินโดยดูจากกระบวนการเล่นที่ถูกต้อง และดูจากการทำเวลาในการเล่นที่เร็วที่สุด ถ้าหากผู้เล่นคนใดทำได้คนนั้นก็จะเป็นผู้ชนะ ซึ่งโครงการนี้จะเปิดสอนในระดับอนุบาลและระดับประถมศึกษา โดยมีผลงานที่สำคัญ คือ รางวัลเหรียญทอง ประเภท Double Cycle รุ่นอายุ 12 ปี (สถิติเป็นอะนดับที่ 4 ของโลก) กีฬาสแต็คจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมองและประสาทสัมผัสเช่น การฝึกปฏิภาณไหวพริบและการป้องกันโรคอัลไซเมอร์เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการพัฒนาทักษะทางอารมณ์ เช่นฝึกให้ผู้เรียนมีความใส่ใจในสิ่งที่ทำและมีสมาธิมากยิ่งขึ้น และส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการคิดวางแผนเพื่อพัฒนาตนเอง เป็นต้น
2. วิธีการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based instruction) ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ สื่อGIGOซึ่งเป็นอุปกรณ์ตัวต่อเพื่อการศึกษาที่นำมาบูรณาการกับการสอนแบบสะเต็มศึกษา ดังต่อไปนี้ สื่อGIGOเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็ม โดยให้นักเรียนคิดหาวิธีแก้ปัญหา ออกแบบ นวัตกรรมที่ต้องการสร้างโดยเริ่มคิดด้วยวิทยาศาสตร์นำความรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเครื่องกลและพลังงานมาใช้งานและนำเอาคณิตศาสตร์มาอธิบายความสัมพันธ์ของอุปกรณ์ต่างๆ นำเทคโนโลยีต่างๆมาช่วยในการออกแบบแล้วสร้างเป็นชิ้นงานจริง หรือต้นแบบด้วยกระบวนการทางวิศวกรรม โดยจะช่วยให้ผู้เรียนมีความคิดวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหาได้ดี และยังช่วยส่งเสริมจินตนาการให้แก่ผู้เรียนได้อย่างดีเยี่ยม
3. วิธีการสอนโดยการสาธิต (Domenstration) ผู้ศึกษาได้ศึกษาการทำตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์ โดยการทำปูนปลาสเตอร์นั้นครูผู้สอนจะมีการสาธิตวิธีการทำให้ผู้เรียนดูอย่างละเอียดก่อนตั้งแต่กรรมวิธีการเตรียมปูนปลาสเตอร์ โดยนำปูนปลาสเตอร์ไปผสมน้ำแล้วนำไปใส่ในพิมพ์ที่ทำมาจากยางพาราเมื่อได้เป็นรูปทรงต่างๆแล้วจึงนำมาระบายสีให้มีสีสันสวยงามหลังจากที่ผู้สอนทำการสาธิตเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติทำตุ๊กตาปูนปลาสเตอร์ด้วยตนเอง การสอนโดยการสาธิตนี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน และยังฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผลอีกด้วย

สรุป
ดังนั้นจึงเห็นได้ว่านิทรรศการ 100 ปี การศึกษาเอกชน มุ่งมั่นเพื่อพัฒนาการศึกษาไทย เป็นนิทรรศการที่มีประโยชน์แก่ผู้เข้าชมเป็นอย่างมาก เพราะแสดงให้เห็นถึงหลักการและวิธีการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน สามารถฝึกทักษะการแก้ปัญหา และให้ผู้เรียน ลงมือปฏิบัติได้ และที่สำคัญคือ สามารถเป็นแนวทางให้ครูผู้สอนนำวิธีการสอนนี้ไปประยุกต์และปรับใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และนำความรู้และทักษะไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ



วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561

อาหารไทย ๔ ภาค


อาหารไทย ๔ ภาค

 ภาคกลาง
              พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ข้าวปลาอาหารจึงอุดมสมบูรณ์เกือบตลอดทั้งปี รวมทั้งมีพืชผัก ผลไม้นานาชนิด ด้วยเหตุนี้อาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลาย ทำให้รสชาติของอาหารภาคกลางไม่เน้นไปทางรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ คือมีทั้งรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว และหวานคลุกเคล้าไปตามชนิดต่างๆของอาหาร นอกจากนี้มักมีการใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น เครื่องเทศ และมักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหาร อาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียงของแนมร่วมรับประทานด้วย เช่น น้ำพริกลงเรือ แนมด้วยหมูหวาน น้ำปลาหวานทานกับสะเดา เป็นต้น
จุดเด่นคือ อาหารภาคกลางมักจะมีการประดิษฐ์ สร้างสรรค์อย่างวิจิตรบรรจง ผัก และผลไม้มีการแกะสลักอย่างสวยงาม แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่มีศิลปะและวัฒนธรรมที่งดงาม



 ภาคใต้
                พื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล ประชากรส่วนใหญ่จึงนิยมทำประมง ด้วยเหตุนี้อาหารหลักของภาคใต้จึงเป็นอาหารทะเลสด และนิยมใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหาร รสชาติจะเผ็ดร้อน เค็มและเปรี้ยว เช่น แกงไตปลา แกงส้ม และแกงเหลือง เป็นต้น
อาหารภาคใต้นิยมทานควบคู่กับผักเพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งเรียกว่า ผักเหนาะ เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอเป็นต้น


ภาคเหนือ
              อาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำพืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน




ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)

       ภาคอีสาน มีสภาพพื้นดินโดยทั่วไปค่อนข้างแห้งแล้ง และในอดีตเป็นภาคที่มีความชุกของปัญหาโภชนาการค่อนข้างสูงอาหารพื้นเมืองของชาวอีสานนั้นอาหารหลักคือข้าวเหนียวเช่นเดียวกับภาคเหนือ อาหารหลักมี 3มื้อ อาหารเช้าเรียกข้าวเช้า อาหารกลางวันเรียกข้าวเพล และอาหารเย็นเรียกข้าวแลง อาหารของภาคอีสานส่วนใหญ่จะมีรสเผ็ด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสเปรี้ยวมาก ซึ่งอาหารอีสานประเภทลาบ ส้มตำ ที่เป็นขนานแท้จะออกรสเผ็ดและเค็ม รสเปรี้ยวทางอีสานใช้มะนาว มะกอก ส้มมะขาม มดแดง รสเค็มใช้ปลาร้า ชาวอีสานไม่นิยมเครื่องเทศแต่ใช้พืชประเภทแต่งกลิ่น เช่น ผักชีลาว ตะไคร้ ใบมะกรูด ผักไผ่

                 อาหารเนื้อสัตว์ของชาวอีสานส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อวัว เนื้อควาย ปลาน้ำจืด และสัตว์ที่จับได้ในท้องถิ่น ในอดีตชาวอีสานไม่นิยมเลี้ยงหมู จึงไม่ค่อยมีอาหารที่ทำด้วยหมู แหล่งอาหารของชาวอีสานแบ่งได้เป็น2แหล่งคือ อาหารที่หาซื้อได้จากตลาด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารของคนในเมือง ได้แก่ ส้มตำ ไก่ย่าง ลาบ ต้มยำ ปลาทูทอด ส่วนอีกแหล่งเป็นแหล่งที่ได้จากธรรมชาติตามท้องไร่ท้องนาหรือในป่า เช่น กบ เขียด อึ่งอ่าง กิ้งก่า แมลงชนิดต่างๆ

           การประกอบอาหารของคนภาคอีสาน มักจะใช้วิธีต้ม แกง ปิ้งหรือย่าง เช่นเดียวกับทางภาคเหนือ อาหารท้องถิ่นของภาคอีสานแทบจะไม่ใช้ไขมัน หรือ น้ำมันในการประกอบอาหาร ดังนั้นอาหารพื้นบ้านของคนภาคอีสานในอดีตและที่ยังพบเห็นในชนบทจะมีปริมาณไขมันต่ำมาก ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่มีรสเผ็ดและเค็ม ซึ่งมักจะเป็นอาหารที่มีน้ำขลุกขลิก เพื่อให้สามารถใช้ข้าวเหนียวจิ้มลงในอาหารได้ และยังพบว่าชาวอีสานยังกินพืชผักพื้นบ้านที่เป็นพืชที่หาได้ในท้องถิ่นเป็นผักจิ้ม น้ำพริก หรือกินร่วมกับลาบ ส้มตำ เช่น ผักติ้ว ผักกระโดน



วันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561

อาหารหลัก  5  หมู่ 

                       อาหาร   คือ  สิ่งที่เรารับประทานแล้วให้ประโยชน์ต่อร่างกายในด้านพลังงาน  ความอบอุ่น ทำให้ร่างกายแข็งแรง  สมบูรณ์  การเจริญเติบโตช่วยให้อวัยวะต่างๆในร่างกายทำงานเป็นปกติและช่วยต้านทานโรค  ช่วยในการซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายที่สึกหรอได้  อาหารหลักแบ่งเป็น 5 หมู่ ได้แก่
                     หมู่ที่  1  โปรตีน

                     หมู่ที่  2  คาร์โบไฮเดรต
                     หมู่ที่  3  เกลือแร่
…………           หมู่ที่  4   วิตามิน

                     หมู่ที่  5 ไขมันและน้ำมัน
  อาหารหลักหมู่ที่  1  ได้แก่  เนื้อสัตว์  ไข่  นม  ถั่วเมล็ดแห้งต่าง ๆ อาหารหลักหมู่นี้เมื่อร่างกายย่อยจะให้สารอาหารประเภทโปรตีน  ทำให้ร่างกายแข็งแรง  เจริญเติบโต  ช่วยต้านทานโรค       


อาหารหลักหมู่ที่  2  ได้แก่  ข้าว  แป้ง  น้ำตาล  เผือก  มัน  อาหารหลักหมู่นี้เมื่อร่างกายย่อยจะให้สารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้ประโยชน์ด้านพลังงาน                                           

 อาหารหลักหมู่ที่  3 ได้แก่  ผักสดต่าง ๆ  อาหารหลักหมู่นี้เมื่อร่างกายย่อยจะให้สารอาหารประเภท
กลือแร่และวิตามิน  ทำให้ร่างกายแข็งแรง  ต้านทานโรคได้         

อาหารหลักหมู่ที่  4 ได้แก่  ผลไม้สดต่าง ๆ  อาหารหลักหมู่นี้เมื่อร่างกายย่อยจะให้สารอาหารประเภท
เกลือแร่และวิตามิน  ทำให้ร่างกายแข็งแรง  ต้านทานโรคได้          




         อาหารหลักหมู่ที่  5 ได้แก่ ไขมันจากพืช  และสัตว์  อาหารหลักหมู่นี้เมื่อร่างกายย่อยจะให้สารอาหารประเภท
ไขมันให้ประโยชน์ด้านพลังงาน